การกระทำความผิดลักษณะใดบ้าง จัดเป็นความผิดทางอาญา

ความผิดทางอาญา คือ การกระทำที่มีผลกระทบกระเทือนต่อสังคม หรือคนส่วนใหญ่ของประเทศหากปล่อยให้ผู้ใดกระทำผิดแล้วมีการลงโทษหรือแก้แค้น ล้างแค้นกันเอง จะทำให้มีการกระทำความผิดอาญามากขึ้น บ้านเมืองจะไม่มีความสุข
ทุกคนจะหันมาจับอาวุธป้องกันตัวเอง คนที่แข็งแรงกว่าจะรังแกคนที่อ่อนแอกว่า กฎหมู่หรือการเล่นพวกจะเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย ดังนั้น รัฐจึงจำเป็นต้องยื่นมือเข้ามาลงโทษผู้กระทำผิดเสียเองโดยโทษที่จะลงต้องเป็น โทษที่กฎหมายได้กำหนดไว้ 


ลักษณะสำคัญของความผิดทางอาญา 

  (1).เป็นกฎหมายที่ชัดแจ้ง ในขณะที่กระทำความผิดต้องมีกฎหมายบัญญัติไว้แล้วอย่างชัดแจ้งว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด เจ้าหน้าที่ผู้ใช้กฎหมายจะสร้างกฎหมายใหม่ขึ้นมาใช้บังคับแก่ประชาชนคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะไม่ได้ เช่น กฎหมายบัญญัติว่า "การลักทรัพย์เป็นความผิด" ดังนั้น ผู้ใดลักทรัพย์ก็ย่อมมีความผิดเช่นเดียวกัน 


  (2).เป็นกฎหมายที่ไม่มีผลย้อนหลัง ถ้าหากในขณะที่มีการกระทำสิ่งใดยังไม่มีกฎหมายอาญาบัญญัติว่าเป็นความผิด แม้ต่อมาภายหลังจะมีกฎหมายบัญญัติว่า การกระทำอย่างเดียวกันนั้นเป็นความผิดก็จะนำกฎหมายใหม่มาใช้กับการกระทำครั้งแรกไม่ได้ 


โทษทางอาญา มีอะไรบ้าง 


โทษทางอาญา ที่จะใช้ลงโทษผู้กระทำผิดมีอยู่ 5 ชนิดเท่านั้น หากผู้ใดกระทำความผิดทางอาญา เมื่อจะมีลงโทษผู้ลงโทษจะสรรหาวิธีการลงโทษแปลก ๆ มาลงโทษผู้กระทำผิดไม่ได้ ต้องใช้โทษอย่างใดอย่างหนึ่งที่กฎหมายกำหนดไว้ลงโทษ ซึ่งเรียงจากโทษหนักไปหาโทษเบา คือ 


(1) โทษประหารชีวิต ได้แก่ การเอาไปยิงเสียให้ตาย 


(2) โทษจำคุก ได้แก่ การเอาตัวไไปขังในเรือนจำ 


(3) โทษกักขัง ได้แก่ การเอาตัวไปกักขังหรือควบคุมไว้ในสถานที่กักขัง ซึ่งกำหนดไว้อันมิใช่เรือนจำ 


(4) โทษปรับ ได้แก่ การลงโทษด้วยการปรับให้ผู้กระทำความ ความผิดจ่ายเงิน ให้แก่รัฐ 


(5) ให้ริบทรัพย์สิน ได้แก่ การลงโทษริบเอาข้าของเงินทองของผู้กระทำผิดมาเป็นของรัฐ 



ความผิดทางอาญามี 2 ประเภทคือ

1.ความผิดในตัวเอง (ละติน: mala in se) คือความผิดที่คนทั่วไปเห็นชัดเจนว่าเป็นความผิดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน

2.ความผิดเพราะกฎหมายห้าม (ละติน: mala prohibita) คือความผิดที่เกิดจากการที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นความผิด โดยอาจมิได้เกี่ยวกับศีลธรรมเลย ซึ่งหากกล่าวถึงทฤษฎีกฎหมายสามยุค ความผิดเพราะกฎหมายห้ามอยู่ในยุคกฎหมายเทคนิค


ลักษณะสำคัญของความผิดทางอาญา 

(1).เป็นกฎหมายที่ชัดแจ้ง ในขณะที่กระทำความผิดต้องมีกฎหมายบัญญัติไว้แล้วอย่างชัดแจ้งว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด เจ้าหน้าที่ผู้ใช้กฎหมายจะสร้างกฎหมายใหม่ขึ้นมาใช้บังคับแก่ประชาชนคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะไม่ได้ เช่น กฎหมายบัญญัติว่า "การลักทรัพย์เป็นความผิด" ดังนั้น ผู้ใดลักทรัพย์ก็ย่อมมีความผิดเช่นเดียวกัน 


(2).เป็นกฎหมายที่ไม่มีผลย้อนหลัง ถ้าหากในขณะที่มีการกระทำสิ่งใดยังไม่มีกฎหมายอาญาบัญญัติว่าเป็นความผิด แม้ต่อมาภายหลังจะมีกฎหมายบัญญัติว่า การกระทำอย่างเดียวกันนั้นเป็นความผิดก็จะนำกฎหมายใหม่มาใช้กับการกระทำครั้งแรกไม่ได้ 


1. ความผิดต่อแผ่นดิน หมายถึง ความผิดในทางอาญา ซึ่งนอกจากเรื่องนั้นจะมีผลต่อตัวผู้รับผลร้ายแล้ว ยังมีผลกระทบที่เสียหายต่อสังคมอีกด้วย และรัฐจำเป็นต้องป้องกันสังคมเอาไว้ด้วยการยื่นมือเข้ามาเป็นผู้เสียหายเอง ดังนั้นแม้ผู้รับผลร้ายจากการกระทำโดยตรงจะไม่ติดใจเอาความ แต่ก็ยังต้องเข้าไปดำเนินคดีฟ้องร้องเอาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษให้ได้

กรณีตัวอย่างที่ 1 นายมังคุดทะเลาะกับนายทุเรียน นายมังคุดบันดาลโทสะใช้ไม้ตีศีรษะนายทุเรียนแตก นายทุเรียนไปแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ดำเนินคดีกับนายมังคุดในข้อหาทำร้ายร่างกายผู้อื่น ต่อมานายทุเรียนหายโกรธนายมังคุดก็ไม่ติดใจเอาเรื่องกับนายมังคุด แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องดำเนินคดีกับนายทุเรียนต่อไปเพราะเป็นความผิดต่อแผ่นดิน

กรณีตัวอย่างที่ 2 นายแตงโมขับรถยนต์ด้วยความประมาทไปชนเด็กชายแตงไทยถึงแก่ความตายเป็นความผิดอาญาฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต่อมานายแตงกวาและนางแต่งอ่อนบิดามารดาของเด็กชายแตงไทย ได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากนายแตงโมเป็นเงิน 200,000 บาทแล้ว จึงไม่ติดใจเอาความกับนายแตงโม แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องดำเนินคดีกับนายแตงโมต่อไป เพราะความผิดฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายเป็นความผิดต่อแผ่นดิน


2. ความผิดอันยอมความกันได้ หมายถึง ความผิดในทางอาญาซึ่งไม่ได้มีผลร้ายกระทบต่อสังคมโดยตรง หากตัวผู้รับผลร้ายไม่ติดใจเอาความแล้ว รัฐก็ไม่อาจยื่นมือเข้าไปดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดได้ และถึงแม้จะดำเนินคดีไปแล้ว เมื่อตัวผู้เสียหายพอใจยุติคดีเพียงใดก็ย่อมทำได้ด้วยการถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้อง หรือยอมความ เช่น ความผิดฐานหมิ่นประมาท ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพ เป็นต้น

กรณีตัวอย่างที่ 1 นายโก๋และนางกี๋ลักลอบได้เสียกัน นายแฉแอบเห็นเข้า จึงได้นำความไปเล่าให้นายเชยผู้เป็นเพื่อนฟัง การกระทำของนายแฉมีความผิดฐานหมิ่นประมาท เมื่อนายโก๋และนางกี๋รู้เข้าจึงไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ นายแฉไปหานายโก๋และนางกี๋ เพื่อขอขมานายโก๋และนางกี๋จึงถอนคำร้องทุกข์ดังนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงไม่มีอำนาจดำเนินคดีกับนายแฉอีกต่อไป ถือว่าเป็นความผิดอันยอมความกันได้

กรณีตัวอย่างที่ 2 นายตำลึงล่ามโซ่ใส่กุญแจประตูใหญ่บ้านของนายมะกรูด ทำให้นายมะกรูดออกจากบริเวณบ้านไม่ได้ นายมะกรูดต้องปีนกำแพงรั้งกระโดลงมา การกระทำของนายตำลึงเป็นความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังทำให้ปราศจากเสรีภาพ นายมะกรูดจึงไปแจ้งความยังสถานีตำรวจ นายตำลึงได้ไปหานายมะกรูดยอมรับความผิด และขอร้องไม่ให้นายตำลึงเอาความกับตนเอง นายตำลึงเห็นใจจึงไปถอนคำร้องทุกข์ ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจก็จะดำเนินคดีต่อไปอีกไม่ได้เพราะเป็นความผิดอันยอมความกันได้
________________________________________________________________________________
ที่มา : http://www.legal-informatics.org/home/post.php?web_id=2&board_id=139
ภาพประกอบจากอินเตอร์เนต

แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น