
รัฐบาลทหารพม่าในขณะนั้น ให้เหตุผลในการเปลี่ยนชื่อว่า ต้องการแสดงให้เห็นถึงความเป็นเอกภาพของประเทศ เนื่องจาก 'เบอร์มา' หมายถึงชนชาติเดียวคือชนชาติพม่า (Bamar) ที่เป็นชนกลุ่มใหญ่ของประเทศเพียงกลุ่มเดียว ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงในพม่ามีชนกลุ่มน้อยอีกหลายชาติพันธุ์ (ไทยใหญ่, มอญ, ชิน, ฯลฯ) อาศัยรวมอยู่ด้วย นอกจากนี้ เบอร์มา ยังเป็นสัญญาลักษณ์ของการเป็นอดีตประเทศอาณานิคม เนื่องจากเป็นชื่อที่อดีตเจ้าอาณานิคมใช้เรียกประเทศแห่งนี้
ไม่เพียงแต่ชื่อประเทศเท่า แม้แต่เมืองสำคัญหลายแห่ง อาทิ อดีตเมืองหลวง กรุงร่างกุ้ง (Rangoon) ก็ได้รับการเปลี่ยนชื่อโดยรัฐบาลทหารเป็น ยางโกง (Yangon) เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม หลังรัฐบาลทหารพม่าประกาศเปลี่ยนชื่อประเทศอย่างเป็นทางการ ปรากฏว่าองค์กรระหว่างประเทศหลายแห่ง รวมถึงรัฐบาลของเหล่าประเทศตะวันตกกลับไม่ให้ยอมรับการเปลี่ยนชื่อดังกล่าว นัยว่าไม่ให้การยอมรับรัฐบาลทหารพม่า และเรียกประเทศนี้ว่าเบอร์มาเช่นเดิม
กรณีที่น่าสนใจยิ่งไปกว่านั้นคือแม้แต่ ออง ซาน ซูจีผู้นำฝ่ายค้านพม่า ปฏิเสธที่เรียกพม่าด้วยชื่อใหม่เช่นเดียวกัน โดยให้เหตุผลว่า รัฐบาลทหารเปลี่ยนชื่อโดยไม่สอบถามความเห็นของประชาชนก่อน
ความขัดแย้งดังกล่าว ส่งผลให้แม้แต่ ประธานาธิบดี บารัก โอบามา ของสหรัฐต้องใช้คำว่าเมียนมาร์เมื่อพบปะกับประธานาธิบดี เต็ง เส่ง และใช้คำว่าเบอร์มาในการพบปะกับ ออง ซาน ซูจี

แต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมามีข่าวความเคลื่อนไหวออกมาว่า สหรัฐตัดสินใจเรียกประเทศพม่าด้วยชื่อทางการว่า เมียนมาร์ (Myanmar) แทนชื่อเดิม เบอร์มา (Burma) ด้วยเหตุผล ด้านมารยาททางการทูต
การยอมรับชื่อ "เมียนมาร์" จึงนับเป็นความเคลื่อนไหวครั้งสำคัญเลยทีเดียว โดยมีนัยว่าสหรัฐให้การยอมรับรัฐบาลพม่าชุดปัจจุบัน
สำหรับประเทศไทยนั้น ในระดับทางการได้เปลี่ยนได้ให้การยอมรับชื่อเมียนมาร์เรียบร้อยแล้ว แต่สำหรับคนไทยโดยทั่วไปยังติดปากเรียกประเทศเพื่อนบ้านแห่งนี้ว่าพม่าอยู่เช่นเดิม เช่นเดียวกับชาวพม่าก็ยังคงคุ้นชินกับการเรียกประเทศไทยว่า 'โยเดีย' หรือ 'อยุธยา' ไม่ยอมเปลี่ยนมาเรียกประเทศไทย หรือ ไทยแลนด์
______________________________________________________________________
ที่มา : โพสต์ทูเดย์
ภาพประกอบจากอินเตอร์เนต
0 ความคิดเห็น
เรื่องเด็ด น่าคิด น่าชม ที่ทุกที่ ทุกเวลา เรื่องเด็ด น่าคิด น่าชม ที่ทุกที่ ทุกเวลา 108thinks.blogspot.com