เรื่องเล่าห้องน้ำรถไฟไทย ใครๆ ก็ร้องยี้ ต่อไปนี้จะไม่เป็นฝันร้ายอีกต่อไป


เมื่อพูดถึงห้องน้ำรถไฟ ใครๆ ก็ยี้ พร้อมให้เหตุผลว่า...

1. สกปรก
2. เล็งยาก
3. อี๋ยยยยยยยยยย์
4. ไม่เข้าได้แมะ

ออ ผมก็เข้าใจคุณนะ แต่ผมว่าคุณก็ยังไม่เข้าใจบางเรื่องเล็กๆ เหมือนกัน ผมก็เลยจะมาเล่าให้ฟังครับ
ห้องสุขาของรถไฟนั้น มีในรถไฟทุกตู้ (ยกเว้นตู้ประชุมปรับอากาศ รุ่นเก่า จะไม่มีห้องสุขา) ซึ่งห้องสุขาเนี่ยก็จะมีอุปกรณ์ประเภท โถสุขภัณฑ์ อ่างล้างหน้า สายฉีดตูด บลาๆๆๆ ซึ่งมันก็มีทั้งสมบูรณ์ และไม่สมบูรณ์

มาว่ากันด้วยลักษณะของส้วมแต่ละประเภทกันดีกว่า โดยผมขอยกมาเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ
"ประเภทตูชินแล้ว"
ซึ่งประกอบไปด้วยบรรดารถพัดลม รถนั่งชั้น 3 ซึ่งพบเห็นได้ทั่วไป
โดยโถสุขภัณฑ์ที่ทำจาก "โลหะ" และเป็นระบบเปิด...
สงสัยกันล่ะสิ ทำไมต้องเป็นโลหะ เป็นกระเบื้องไม่ได้หรอไง
- โลหะนั้นสามารถทำความสะอาดได้ง่าย และตัวโครงสร้างนั้นจะถูกผนึกติดกับพื้นซึ่งเป็นโลหะเหมือนกัน ทำให้มีความแข็งแรงและทนทานจากแรงสะเทือน ซึ่งเกิดจากตัวรถไฟเอง
****แต่ข้อเสียของโลหะคือ หากของเหลวเกิดการระเหย จะทำให้ยูเรีย ซึ่งเป็นส่วนประกอบของปัสสาวะนั้นเกิดกลิ่นที่รุนแรงประหนึ่งดมแอมโมเนีย จึงต้องให้มีการกดน้ำทำความสะอาดกันอยู่ทุกครั้งเมื่อใช้เสร็จ
ประเภทที่ 2
"ประเภท เฮ้ย มันมีด้วยหรอวะ" 
ซึ่งประกอบไปด้วย ห้องสุขาแบบชักโครกของรถนั่งสำหรับผู้พิการ ซึ่งมีพื้นที่กว้างขวางขนาดกางเตนท์แบบนอนได้ 3 คนในห้องสุขาได้สบายๆ / ส้วมระบบสุญญากาศของรถนอนชั้น 1 / ห้องสุขา และตู้อาบน้ำในรถนอนชั้น 1 JR West
ซึ่งที่ผ่านมา ปัญหาระดับชาติของการรถไฟรองลงมาจากเรื่องความล่าช้า ก็คือห้องน้ำเนี่ยแหละ.... ปัญหาที่เกิดมันคืออะไร
1. ห้องน้ำระบบเปิด - หลายคนจะพูดว่ามันไม่ถูกสุขลักษณะ ซึ่งว่ากันตามตรงมันก็จริง เมื่อถ่ายลงปุ๊บมันก็ลงข้างล่างเลย รถไฟจึงต้องมีป้ายบอกว่า "ห้ามใช้สุขาเมื่อรถจอดสถานี" เพราะไม่งั้นอดีตอาหารอาจลงไปทักทายได้ถึงชานชาลา แต่ถ้าส่วนอื่นๆที่รถวิ่งนั้น เมื่อถ่ายตุ๊บลงไป เมื่อกากอาหารนั้นกระทบกับอากาศ+พื้นดิน มันจะแตกกระจายเป็นโกโก้ครันช์ และแปรสภาพเป็นอาหารปัจจุบันของต้นไม้ใบหญ้าต่อไป... (มันเกี่ยวกับการที่ต้นไม้ขึ้นริมทางรถไฟเยอะป่ะวะ) 
แต่อีกประเด็นหนึ่งที่คนว่ามันสกปรก ถ้าเหยียบขี้ขึ้นมาแล้วจะทำไง .... คำถามผมคือ...ทางรถไฟมันใช่ทางสัญจรของคนหรอวะ?
2. กลิ่น - แน่นอน Talk of the town ว่ามันเป็นเรื่องที่คนยี้มากที่สุด ถึงแม้จะนั่งรถไฟยังไงกลิ่นห้องน้ำยังคงเป็นฝันร้ายของใครหลายๆ คน
แต่คุณทราบไหมว่า ต้นเหตุของกลิ่นนั้น มันเกิดจาก 3 ปัจจัยหลักๆ คือ
2.1. พนักงานไม่ทำความสะอาด
2.2. คนใช้ไม่ราดน้ำ
2.3. หน้าต่างระบายอากาศไม่เปิด
มาไล่ 2.1 กันก่อนนะครับ
2.1 หากพนักงานไม่ทำความสะอาด (ซึ่งเป็นเอกชนนะ ไม่ใช่ของการรถไฟ) สามารถแจ้งพนักงานบนขบวนรถ หรือแจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องทราบได้เลยว่าเขาไม่ยอมทำ
2.2 คนใช้ไม่กดน้ำ/ราดน้ำ ซึ่งอันนี้บอกเลยว่า คนใช้รถไฟมันมีหลายรูปแบบ มีทั้งเข้าใจการใช้สิ่งของสาธารณะ และ เห็นแก่ตัว คือ รังเกียจความสกปรกของคนอื่น แต่ไม่รังเกียจในสิ่งที่ตัวเองทำสกปรก ใช้แล้วไม่ช่วยราดบ้างอะไรบ้าง หรือไม่ยอมกดน้ำ สะบัดเสร็จ เก็บ ออกมาจากห้องน้ำเลยก็ดี ยิ่งถ้าเจอคนที่ดริงค์แอลกอฮอล์มาก่อนหน้าแล้วมาฉี่นะคุณเอ๊ยยยยยยยยยยยยย กรูจะตาย
2.3 หน้าต่าง - อันนี้สำคัญมากเลยนะ เพราะมันแทบเป็นเรื่องหลักๆ เลย เพราะห้องน้ำรถไฟนั้นเป็นห้องปิด มีสิ่งที่ระบายอากาศเพียงสิ่งเดียวคือ "หน้าต่าง" และหน้าต่างนี้ก็ถูกออกแบบให้เปิดได้ 1/2 หรือส่วนนึง ให้เปิดเพื่อระบายอากาศ กลิ่นอันเกิดจากฉี่ และขรี้ (รวมถึงตด) มันจะไม่อบอวล ซึ่งการเปิดหน้าต่างเป็นการระบายกลิ่นอย่างดี แล้วถ้าบวกกับการกดน้ำ มันทำให้กลิ่นหายไปได้เกือบ 100% เลยครับ...
ในขณะนี้ การรถไฟเองก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้ทยอยทำห้องสุขาใหม่ในหลายๆคัน แต่ก็คงต้องหวังว่าการดูแลรักษาห้องสุขาให้สามารถใช้งานได้ และสะอาดสุดๆ นั้นมันคงเกิดจากตัวของผู้ปฏิบัติงานของรถไฟอย่างเดียวคงไม่ได้ คงต้องขอความร่วมมือจากผู้โดยสารช่วยกันดูแลรักษาความสะอาด ให้เหมือนกับเป็นสมบัติของตัวเองด้วย เราเองก็คงไม่ชอบที่จะต้องเจอห้องน้ำที่มีความสกปรกและกลิ่นเหม็นเนอะ แต่อยู่กับคนหมู่มาก มันก็ต้องเจออะไรหลายๆแบบ ก็คงต้องอยู่ที่พฤติกรรม และสำนึกของผู้ใช้ รวมถึงผู้ให้บริการด้วยครับ
--------------------------------------------
สำหรับรายละเอียดห้องน้ำในแต่ละภาพ อ่านคำอธิบายใต้ภาพได้เลยครับ
อันนี้คงฝันร้ายสำหรับทุกๆคนนะ นั่นคือห้องน้ำชั้น 3 และรถนั่งชั้น 2 มาแบบเดียวกันดั้งเดิมคืออีโถแบบเนี้ย

แต่แค่กดน้ำ + เปิดหน้าต่าง มันไม่เหม็นเลยนะ แค่ลำบากในการนั่งและเล็งหน่อยเท่านั้น
นี่เป็นแบบของห้องน้ำชั้น 3
ห้องน้ำรถสปรินเตอร์
ห้องน้ำรถนอน แบบใหม่ที่ใช้โถเป็นเหล็กเหมือนเดิม แต่ว่าให้ฝารองนั่งเป็นพลาสติกแข็ง มีสายชำระตามแบบทุกอย่าง

พื้นนั้นได้ออกแบบมาให้เป็นพื้นแบบสากๆ (ผมก็เรียกไม่ถูกแฮะ) แต่อันนี้มันน่าเบื่อตรงที่คนใช้ชอบเอาสายชำระมาล้างเท้า แล้วพื้นมันก็น้ำนอง
ห้องน้ำรถนั่งชั้น 3 ซึ่งการรถไฟได้ทำใหม่ เปลี่ยนจากโถแบบโลหะ มาเป็นพลาสติกแข็ง รวมถึงเปลี่ยนพื้นใหม่จากโลหะ เป็นผ้ายางลายไม้ ให้ดูสวยงามน่าใช้มากขึ้น แถมมีสายชำระที่ถูกประเภทด้วยนะครับ
 
ห้องน้ำแบบนั่งยองของรถนอน

ซึ่งมันทำมาแต่โรงงานแล้วว่าจะเป็นแบบนั่งยองและชักโครก แยกห้องกันเลย

นี่เป็นแบบเก่าๆ เจแปนนีสสไตล์ การเปิดหน้าต่างแบบในภาพ ช่วยระบายอากาศได้เกือบ 100% เลยครับ

ที่สำคัญ ไม่มีใครเห็นคุณครับผม
 
นี่เป็นห้องสุขาของรถนั่งชั้น 2 ปรับอากาศ แบบสำหรับผู้พิการ

มีขนาดใหญ่โตมาก นำวีลแชร์เข้าไปได้ และมีราวจับสำหรับผู้พิการ

นอกจากนั้นยังมีอินเตอร์คอมเพื่อติดต่อกับนอกห้องน้ำด้วยหากเกิดเหตุสุดวิสัย

ปล. ประตูห้องน้ำเป็นปุ่มเปิด แบบสไลด์นะจ๊ะ
 

อันนี้ Original จากญี่ปุ่นเลย เป็นห้องน้ำที่ทำได้โอเคมากๆ จะไม่มีหน้าต่างเปิดให้ระบาย แต่มีพัดลมระบายอากาศสู่โลกภายนอก
 
อันนี้เป็นห้องน้ำของรถนอนปรับอากาศรุ่น JR West ซึ่งการรถไฟดัดแปลงจากส้วมแบบญี่ปุ่น (คงนึกภาพออก) ที่นั่งยอง ให้เป็นลักษณะที่ถูกกับลักษณะการใช้งานของคนไทยใน พ.ศ. นี้มากขึ้น ครับ

โดยในรถนอนคงทยอยทำแบบนี้ แต่อาจจะรวดเร็วไม่ทันใจเพราะรถมันต้องเอามาใช้เพื่อบริการตลอดเวลา
 
 
นี่เป็นห้องน้ำรถนอนชั้น 1 เป็นห้องนั่งยอง

ส้วมรถแบบนี้เป็นระบบปิด และกดชำระล้างด้วยปุ่มสุญญากาศ คือเมื่อกดปุ่มชำระ น้ำจะลงมาล้างโถ และสุญญากาศจะดูดลงถังเก็บไปเลย

ซี่งจะเป็นห้องสุขาแบบใหม่ของรถไฟที่จะสั่งซื้อในภายหลังทุกๆคันครับ
 
นอกจากนั้นยังมีตู้อาบน้ำ อีกด้วย 
 
ในภาพเป็นเครื่องทำน้ำอุ่นของรถนอนชั้น 1 ที่อาบได้ ปรับอุณหภูมิได้จริงๆ

ส่วนรถนอนแอร์ชั้น 2 มีเหมือนกัน แต่ปรับอุณหภูมิไม่ได้

สรุป‬ (สำหรับคนไม่ชอบอ่านอะไรยาวๆ)
การใช้ห้องน้ำของรถไฟโดยที่ไม่ต้องเป็นฝันร้ายนั้น ไม่มีอะไรมาก แค่จำไว้แค่ 3 อย่างคือ
1. เปิดหน้าต่าง
2. กดน้ำราด
3. ไม่ก่อความสกปรก และมีสำนึกในการใช้สิ่งของสาธารณะ
แค่นี้ ห้องน้ำรถไฟก็ไม่เป็นฝันร้ายแล้วครับ

ที่มา : https://www.facebook.com/617685891692993/photos/pcb.620451984749717/620447464750169/?type=1&theater 
ภาพประกอบจากอินเตอร์เนต

ผู้ชมหน้านี้ :

แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น