ล้ำมาก!! ญี่ปุ่นทำฟาร์มผักกาดในร่ม ให้ผลผลิตมากกว่าปลูกกลางแจ้ง 100 เท่า

มนุษย์เราทำการเกษตรปลูกผักเพื่อนำมาทำอาหารตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ แต่การเกษตรต้องพึ่งฟ้าฝน ใน
บางครั้งอาจเกิดพายุฝนกระหน่ำจนน้ำท่วม หรือบางปีก็แห้งแล้งเหลือเกินจนปลูกอะไรไม่ได้ แต่ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ทำให้สามารถปลูกพืชผักในร่มได้แบบไม่ง้อฟ้าฝน

นายชิเงฮารุ ชิมามูระ นักสรีรวิทยาพืชจากจังหวัดมิยะงิ เมืองด้านตะวันออกของญี่ปุ่น ซึ่งถูกสึนามิกระหน่ำเมื่อหลายปีก่อน โดยเขาได้เปลี่ยนโรงงานอิเล็กทรอนิกส์ของบริษัทโซนี่คอร์ปอเรชั่นให้กลายเป็นฟาร์มในร่มขนาดใหญ่ที่สุดในโลก

ฟาร์มนี้ใช้พลังงานจากหลวด LED ชนิดพิเศษซึ่งจะปล่อยคลื่นแสงในระยะที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช
ฟาร์มในร่มนี้มีขนาดเท่ากับครึ่งหนึ่งของสนามฟุตบอล (25,000 ตารางฟุต) เปิดใช้งานครั้งแรกในเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว ผลิตผักกาดได้วันละ 10,000 หัว
หัวใจหลักของฟาร์มแห่งนี้คือหลอดไฟ LED ที่ทำให้สามารถควบคุมระยะเวลากลางวันกลางคืนและเร่งการเจริญเติบโตของพืชได้

นายชิมามูระกล่าวว่าเขาสามารถปลูกผักกาดที่อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่เจริญเติบโตได้รวดเร็วกว่าฟาร์มกลางแจ้งถึง 2.5 เท่า และสามารถลดผลผลิตที่ด้อยคุณภาพลงจาก 50 เปอร์เซ็นต์ เหลือเพียง 10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ผลผลิตที่ได้จึงมากกว่าการปลูกผักกลางแจ้งถึง 100 เท่า!!
ด้วยการควบคุมอุณหภูมิ ความชื่น และการให้น้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่าการปลูกผักกลางแจ้ง ทำให้การปลูกผักในร่มนั้นต้องการน้ำเพียง 1 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณน้ำที่ใช้เพื่อปลูกผักกลางแจ้ง
นายชิมามูระยังได้คิดถึงการพัฒนาเทคโนโลยีนี้ต่อไปในอนาคต
“ผมเชื่อว่าเราสามารถผลิตพืชได้ทุกชนิดในโรงงานแห่งนี้ ในเชิงเศรษฐกิจแล้วมันช่วยทำให้เราสามารถผลิตผักที่ส่งขายในตลาดได้อย่างรวดเร็ว ในอนาคตเราจะเพิ่มความหลากหลายของผลผลิต โดยไม่หยุดอยู่แค่ผักที่รับประทานกันทั่วไปเท่านั้น โรงงานแห่งนี้ยังสามารถผลิตพืชสมุนไพรเพื่อนำไปใช้ในการแพทย์ได้อีกด้วย ผมเชื่อว่าเราจะสามารถสร้างผลผลิตที่หลากหลายได้ในเร็วๆ นี้อย่างแน่นอน”
ความสุดยอดของการพัฒนานี้อีกอย่างหนึ่งคือคุณประโยชน์ที่หลากหลาย เนื่องจากพื้นที่ควบคุมสภาพแวดล้อมในร่มนี้สามารถทำซ้ำเพิ่มเติมได้ เทคโนโลยีนี้จึงสามารถจัดวางไว้ที่ไหนก็ได้ในโลก และอาจจะเป็นกุญแจสำคัญในการแก้ไขปัญหาความอดอยากในอนาคตก็เป็นได้


ที่มา : gereports, weburbanist
ภาพประกอบจากอินเตอร์เนต

ผู้ชมหน้านี้ :

แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น