บังสุกุลเป็น เป็นแบบไหน?



  ในพจนานุกรม ชุดคำวัด อธิบายว่า “บังสุกุลเป็น” เป็นคำเรียก วิธีบังสุกุลคนที่ยังไม่ตาย

     
       บังสุกุลเป็น เช่นคนป่วยหนัก คนที่มีเคราะห์ เป็นการเอาเคล็ด วิธีทำก็คือ ให้คนที่จะทำพิธีนอนหงายประนมมือเหมือนคนตาย แล้วใช้ผ้าขาวคลุมร่างผู้นั้นให้มิดทั้งตัว พระสงฆ์ที่มาทำพิธีจับชายผ้าหรือด้ายสายสิญจน์ที่ผูกมาจากชายผ้า แล้วกล่าวคำสำหรับบังสุกุลคนตาย ที่ขึ้นต้นว่า “อนิจจา วะตะ สังขารา..”
     
       จบแล้วให้ผู้นั้นนอนหันศีรษะไปทิศตรงข้ามกับครั้งแรก คลุมด้วยผ้าขาวเหมือนเดิม พระสงฆ์บังสุกุลอีกครั้ง โดยกล่าวคำสำหรับบังสุกุลคนเป็นที่ขึ้นต้นว่า “อะจิรัง วะตะยัง กาโย..”เป็นการถือเคล็ดว่า กลับฟื้นขึ้นมาใหม่แล้ว
     
       บังสุกุลเป็น นิยมทำกันทั่วไป ด้วยเชื่อว่าเป็นการต่ออายุ โดยเฉพาะคนที่ป่วยหนัก หรือทำกันในงานวันเกิดแม้จะไม่เจ็บป่วยก็ตาม







  • บทสวดบังสุกุลเป็น (พร้อมคำแปล)
     
       อะจิรัง วะตะยัง กาโย ร่างกายของเรานี้คงไม่นานหนอ
       ปะฐะวิง อะธิเสสสะติ จะต้องลงไปทับถมซึ่งแผ่นดิน
       ฉุฑโฑ อะเปตะวิญญาโน เมื่อวิญญาณได้ปราศจากตัวเราทิ้งไปเสียแล้ว
       นิรัตถังวะ กะลิงคะลังฯ เปรียบเหมือนท่อนไม้ท่อนฟืน หาประโยชน์มิได้ดังนี้แล


ที่มา : http://www.manager.co.th/Dhamma/viewnews.aspx?NewsID=9560000149650
ภาพประกอบจากอินเตอร์เนต




ผู้ชมหน้านี้ :  

แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น