รายได้ของรัฐฯ มีแค่ภาษีหรือ??

รายได้ของรัฐบาลหมายถึงรายได้ที่นำส่งคลังในแต่ละปีงบประมาณประกอบด้วย รายได้จากภาษีอากร รายได้จากการขายสิ่งของและบริการ รายได้จากรัฐพาณิชย์ และรายได้อื่น ๆ ซึ่งถ้าพิจารณาตามประมาณการรายรับประจำปีงบประมาณ 2542 ของรัฐบาลไทย จะพบว่า มีการจำแนกรายได้ตามประเภทของการจัดเก็บ ดังนี้

(1) ภาษีอากรหมายถึงสิ่งที่รัฐบาลบังคับเรียกเก็บจากผู้ที่มีรายได้ตามที่กำหนดไว้ เพื่อนำไปใช้ในการบริหารและการพัฒนาประเทศ ประกอบด้วย ภาษีทางตรง และภาษีทางอ้อม ดังนี้
(1) ภาษีทางตรงประกอบด้วย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
(2) ภาษีทางอ้อม ประกอบด้วย
1.ภาษีการขายทั่วไป ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และ อากรแสตมป์
2.ภาษีการขายเฉพาะ ได้แก่ ภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน  ภาษีสรรพสามิตจากการนำเข้า ภาษีโภคภัณฑ์อื่น ค่าภาคหลวงแร่ ค่าภาคหลวงปิโตเลียม และภาษีทรัพยากรธรรมชาติอื่น
3. ภาษีสินค้าเข้า-ออก
4. ภาษีลักษณะอนุญาต
(2) การขายสิ่งของและบริการ ประกอบด้วย
(1) การขายหลักทรัพย์และทรัพย์สิน ประกอบด้วย ค่าขายทรัพย์สินซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ ค่าขายผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ค่าขายหลักทรัพย์ ค่าขายหนังสือราชการ และ ค่าขายสิ่งของอื่น
(2) การขายบริการ ประกอบด้วย ค่าบริการและค่าเช่า
(3) รายได้จากรัฐพาณิชย์ ประกอบด้วย ผลกำไรขององค์การรัฐบาล หน่วยงานธุรกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ รายได้จากโรงงานยาสูบ รายได้จากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล และเงินปันผลจากบริษัทที่รัฐบาลถือหุ้น
(4) รายได้อื่น ประกอบด้วย ค่าแสตมป์ฤชากร และค่าปรับ เงินรับคืนและรายได้เบ็ดเตล็ด
 เงินกู้ หมายถึง การกู้เงินของรัฐบาลเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ โดยใช้วิธีออกตั๋วเงินคลัง พันธบัตร ตราสารอื่น หรือทำสัญญากู้
เงินคงคลัง หมายถึง เงินที่เหลือจากการใช้จ่ายในปีก่อนๆ ซึ่งรัฐบาลเก็บสะสมไว้ ในปีที่รายจ่ายสูงเกินกว่ารายได้และรัฐบาลไม่ต้องการก่อหนี้เพิ่มขึ้นสามารถนำออกมาใช้  ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด



รายจ่ายของรัฐบาลและการจำแนกรายจ่าย 

รายจ่ายของรัฐบาล ถือว่าเป็นรายการที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นรายจ่ายที่สามารถปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับความต้องการและความเหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น เช่น ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจรุ่งเรือง รัฐบาลอาจจะลดค่าใช้จ่ายลงเพื่อช่วยรักษาเสถียรภาพทางด้านราคาให้เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจ หรือช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำรัฐบาลอาจจะต้องใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเพื่อกระตุ้นให้เศรษฐกิจฟื้นตัว เป็นต้น นอกจากนี้ รายจ่ายของรัฐบาลยังช่วยในการจัดสรรรายได้ไปสู่กลุ่มบุคคลต่าง ๆ ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายในการกระจายรายได้อีกด้วย 

1.รายจ่ายของรัฐบาล เนื่องจากรัฐบาลมีหน้าที่สำคัญในระบบเศรษฐกิจหลายประการ เช่น การแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ การส่งเสริม การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การสร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ เป็นต้น ซึ่งรัฐบาลสามารถใช้นโยบายเกี่ยวกับรายจ่ายเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการรักษาเสถียรภาพ ทางเศรษฐกิจในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้จ่ายเพื่อการสร้างเสถียรภาพเกี่ยวกับรายได้ การจ้างงาน และราคาสินค้า โดยรัฐบาลจะปรับเปลี่ยนค่าใช้จ่ายเพื่อให้ค่าใช้จ่ายรวมอยู่ในระดับที่เหมาะสมกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น
ส่วนการกำหนดงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลนั้น จะเกิดขึ้นก่อนที่จะมีการใช้จ่ายแต่ละปี นอกจากนี้ในบางครั้งยังมีการกำหนดงบประมาณรายจ่ายของโครงการขนาดใหญ่ ซึ่งจากลักษณะดังกล่าว ทำให้รายจ่ายของรัฐบาลไม่มีความสัมพันธ์กับระดับผลิตภัณฑ์ประชาชาติหรือรายได้ประชาชาติ หรือกล่าวได้ว่าการใช้จ่ายของรัฐบาลเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นโดยอิสระหรือเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ (Autonomous Government Purchases) หมายถึง รายจ่ายของภาครัฐบาลที่ไม่ขึ้นอยู่กับระดับรายได้ประชาชาติหรือผลผลิต หรือเขียนเป็นความลัพธ์ได้ คือ
โดย G = ค่าใช้จ่ายของรัฐ
Ga = ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นโดยอิสระ

2. การจำแนกรายจ่ายของรัฐบาล สำหรับการจำแนกรายจ่ายของรัฐบาลนั้น อาจจะแบ่งเป็นการใช้จ่ายตามโครงสร้างแผนงาน ตามลักษณะงานและอื่น ๆ กล่าวคือ 

1.รายจ่ายจำแนกตามโครงสร้างแผนงาน ได้แก่
  1. การเกษตร
  2. การอุตสาหกรรมและเหมืองแร่
  3. การคมนาคมขนส่งและสื่อสาร
  4. การพาณิชย์และท่องเที่ยว
  5. การวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี พลังงานและสิ่งแวดล้อม
  6. การศึกษา
  7. การสาธารณสุข
  8. การบริการสังคม
  9. การรักษาความมั่นคงแห่งชาติ
  10. การจำแนกรายจ่ายของรัฐในที่นี้จะจำแนกตามงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2542 ของประเทศไทย
  11. การรักษาความสงบเรียบร้อยภายใน
  12. การบริหารงานทั่วไปของรัฐ
  13. การชำระหนี้เงินกู้
 2.รายจ่ายจำแนกตามลักษณะงานและเศรษฐกิจ ได้แก่
การจำแนกตามลักษณะงานเป็นการแสดงงบประมาณรายจ่าย ตามวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของรัฐบาล โดยยึดหลักการในการจำแนกรายจ่ายของรัฐบาล ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ซึ่งได้จำแนกการดำเนินการของรัฐบาลภายใต้ลักษณะงาน 4 ประเภทดังนี้

  1. การบริหารทั่วไปของรัฐ
  2. การบริการชุมชนและสังคม
  3. การเศรษฐกิจ
  4. ลักษณะอื่น ๆ


ผลการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาล
ประจำเดือน กุมภาพันธ์  2550  1/
หน่วย : ล้านบาท
ที่มาของรายได้เทียบปีนี้กับปีที่แล้วปมก. ปรับปรุงเทียบปีนี้กับเอกสาร 
ปีนี้ปีที่แล้วทั้งปีเท่ากับงปม.
จำนวนร้อยละ1,420,000 ลบ.จำนวนร้อยละ
 1. กรมสรรพากร73,44571,5271,9182.773,992-547-0.7
 2. กรมสรรพสามิต23,66721,1322,53512.023,2324351.9
 3. กรมศุลกากร7,2137,0741392.07,0151982.8
 4. หน่วยงานอื่น12,92514,144-1,219-8.612,7471781.4
   4.1 ส่วนราชการอื่น73373/7,900-563-7.18,060-723-9.0
   4.2 กรมธนารักษ์281489-208-42.5522-241-46.2
   4.3 รัฐวิสาหกิจ5,3075,755-448-7.84,1651,14227.4
รวมรายได้จัดเก็บ (Gross)117,250113,8773,3733.0116,9862640.2
หัก
1. การคืนภาษีของกรมสรรพากร126353/11,9217146.012,4521831.5
   - ภาษีมูลค่าเพิ่ม10,3739,7865876.010,1821911.9
   - ภาษีอื่นๆ 2,2622,1351275.92,270-8-0.4
 2. จัดสรรรายได้จาก VAT ให้ อบจ.7603/75281.1746141.9
 3. เงินกันชดเชยภาษีสำหรับสินค้าส่งออก7403/892-152-17.073910.1
รวมรายได้สุทธิ (Net) 4/103,115100,3122,8032.8103,049660.1
______________________________________________________________________
ที่มา : whereisthailand , http://www.rd.go.th/publish/552.0.html , http://chartingthailandeconomy.com/ http://www.cs.ssru.ac.th/cs01/comart/Macroeconomics/6.html
ภาพประกอบจากอินเตอร์เนต

แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น