5 อันดับ คนอึดโกงความตาย

        อันดับ 5 JULIANE KOEPCKE หญิงผู้รอดชีวิตคนเดียวจากเหตุเครื่องบินตก หลังโดนฟ้าผ่า ก่อนใช้ชีวิตในป่าดงดิบนาน 9 วัน


JULIANE KOEPCKE ในวัย 17 ปี 
          วันที่ 24 ธันวาคม 1971 จะเป็นวันที่ JULIANE KOEPCKE ในวัย 17 ปี นักเรียนชาวเยอรมัน จะจดจำไปชั่วชีวิตเมื่อเธอได้เดินทางโดยเครื่องบิน สายการบิน Lansa เที่ยวบิน 508 จากกรุงลิม่า เพื่อไปหาพ่อที่เป็นศาสตราจารย์ที่เยอรมัน ทันใดนั้นเอง เมื่อเครื่องบินผ่านเหนือป่าดงดิบในประเทศเปรู เครื่องบินได้ถูกฟ้าผ่าเข้าอย่างจัง ร่างของ JULIANE กระเด็นออกมาจากตัวเครื่อง ทั้งๆที่เข็มขัดนิรภัยยังรัดตัวเธออยู่กับเบาะ ก่อนตกลงไปในผืนป่าดงดิบ ส่วนเครืองบินพร้อมผู้โดยสารอีกและลูกเรือ 91 ราย ไม่มีใครรอดชีวิตจากเหตุการณ์นี้

JULIANE KOEPCKE กลับมาดูซากเครื่องบินที่เธอตก ในอีกหลายปีให้หลัง

         กลับมาที่ JULIANE ร่างของเธอกระเด็นไปจากจุดดังกล่าวห่างไป 2 ไมล์ ในป่าดงดิบที่รกทึบ แม้จะได้รับบาดเจ็บ เธอยังคงตั้งสติพร้อมนึกถึงคำสอนของพ่อผู้เป็นนักชีววิทยา ที่ไหนมีน้ำที่นั้นหมู่บ้าน JULIANE ที่อยู่ในชุด มินิสเกิร์ตกับรองเท้าแตะพยายามตะเกียกตะกายเอาชีวิตรอด ด้วยการกินของป่า พร้อมผจญกับสัตว์ดุร้ายในป่าดงดิบถึง 9 วัน จนเธอกระท่อมเล็กๆหลังหนึ่ง ที่ทำให้เธอได้เข้าไปพักผ่อน จนเจ้าของบ้านกลับมาพบ ก่อนนำตัวเธอส่งโรงพยาบาล ซึ่งหลังจากเหตุการณ์ดังกล่าวเธอก็ตัดสินใจเรียนต่อจนสำเร็จการศึกษา ได้เป็นนักนักชีววิทยา ตามรอยพ่อของเธอในที่สุด

  JULIANE KOEPCKE ในปัจจุบัน 

      ซึ่งเรื่องราวของ JULIANE KOEPCKE ได้ถูกถ่ายทอดมาเป็นภาพยนตร์ คือ Miracoli accadono ancora(Miracles Still Happen) ในปี 1974 และตามด้วย Wings of Hope(2000) 


       อันดับ 4 แฮร์ริสัน โอเคเน่ พ่อครัวจอมอึด ผู้ติดในซากเรือที่จมในก้นมหาสมุทรนาน 3 วัน พร้อมช่องอากาศหายใจเล็กๆ

แฮร์ริสัน โอเคเน่ ขณะได้รับการช่วยเหลือ

          วันที่ 26 พ.ค. 2013 แฮร์ริสัน โอเคเน่ (harrison okene) พ่อครัวหนุ่มชาวไนจีเรีย วัย 29 ปี ประจำเรือบรรทุกน้ำมันบริษัทแห่งหนึ่ง ได้ตื่นมาทำงานที่เขารักอย่างเป็นปกติ แต่เพียงรู้สึกว่าช่วงนี้คลื่นทะเลช่างรุนแรงกว่าปกติ บนชายมหาสมุทรแอตแลนติก ห่างจากชายฝั่งไนจีเรีย ราว 30 กิโลเมตร
         ทันใดนั้นเองขณะที่เขากำลังปลดทุกข์ในห้องน้ำ เรือได้ถูกคลื่นลูกใหญ่ซัดเข้าอย่างหนัก จนเรืออัปปาง จมลงสู่ก้นมหาสมุทรที่มีความลึกกว่า 30 เมตร ร่างของแฮร์ริสัน ถูกเหวี่ยงไปมาในห้องน้ำอย่างรุนแรง แต่เขาก็สามารถนำตัวออกจากห้องน้ำมาได้ และพบว่าเรือกำลังจะจมลง
เขาจึงพยายามคลำหาช่องลมที่ยังพอมีอากาศภายในเรือ ก่อนจะพบพื้นที่ว่างเล็กขนาด 4 ฟุต ๆที่น้ำเข้าไปไม่ถึง ก่อนจะปักหลังในจุดนี้ หลังจากเวลาผ่านไปกว่า 62 ชั่วโมง น้ำก็ยังเพิ่มระดับขึ้นมาเรื่อยๆ แฮร์ริสันคิดว่าเขาคงไม่รอดแน่นอน

แฮร์ริสัน โอเคเน่ กับนักประดาน้ำที่ช่วยชีวิตเขาไว้

         จนเมื่อทีมดำน้ำลงไปกู้ศพลูกเหลือรายที่ 4 แฮร์ริสัน ได้สังเกตเห็นมือทีมดำน้ำเข้า เขาจึงคว้าไปคว้าไว้ทันที ทำเอานักดำน้ำตกใจสุดขีด เพราะไม่นึกว่าจะมีคนรอดจากเหตุการณ์นี้
ก่อนจะช่วยพ่อครัวหนุ่มรายนี้ขึ้นมาได้ ซึ่งปรากฏว่าลูกเรือทั้ง 11 ราย มีเพียง แฮร์ริสัน โอเคเน รายเดียวเท่านั้นที่รอดชีวิต และวิดีโอขณะเข้าช่วยหนุ่มจอมอึดรายนี้ก็ถูกเผยแพร่สู่สาธารณะชนในเวลาต่อมา

คลิปวินาทีนักดำน้ำ เจอตัว แฮร์ริสัน โอเคเน่

 อันดับ 3 POON LIM กะลาสีเรือผู้เอาชีวิตรอดจากการถูกตอร์ปิโดยิง และ ฉลามร้ายแห่งท้องทะเล


           ในปี ค.ศ. 1942 ช่วงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 พูน ลิม กะลาสี หนุ่มชาวจีน วัย 24 ปี คงไม่คาดคิดว่า ชีวิตของเขาจะได้เผชิญกับสารพัดเรื่องราว ดังกับหนังผจญภัยเรื่องยาวเรื่องหนึ่ง เมื่อเรื่อ SS BENLOMOND ที่เขาประจำการอยู่ ได้เดินทางจากแอฟริกาใต้มุ่งหน้าสู่ฮอลันดา
กลับถูกเรือดำน้ำเยอรมัน ใช้ตอร์ปิโดยิงเข้ามส่อย่างจัง จนจมลงสู่ก้นทะเลแอตแลนติค

  ขณะนั้นเอง POON LIM ไม่รอช้าคว้าเสื้อชูชีพแล้วกระโดดลงสู่ทะเลทันที เขาตะเกียกตะกายบนพื้นน้ำกว่า 2 ชั่วโมง เหมือนฟ้าเป็นใจ เขาลอยไปเจอถังเสบียงขนาดยักษ์ลอยผ่านมา กะลาสีหนุ่มชาวจีนจึงคิดทันทีว่าจะอยู่รอดบนผืนทะเลกว้างใหญ่นี้่อย่างไร

พูน ลิม หลังจากถูกช่วยเหลือขึ้นมาจากฝั่ง

           เขาจึงใช้ลังเสบียงเป็นแพ ก่อนกางผ้าใบที่อยู่ในลัง เพื่อรองน้ำฝนกิน ประกอบกับในถังมีบิสกิต น้ำจืด และอุปกรณ์ยังชีพ ทำให้เขาอุ่นใจได้ในระดับนึงแต่วิบากกรมของ พูน ลิม ไม่จบสิ้นแค่นี้ เมื่อวันหนึ่งขณะเขากำลังดำน้ำหาปลา เขาได้ถูกปลาฉลามขนาดใหญ่กว่าเขาเล็กน้อย พุ่งตรงเข้ามาหาหมายตาเขาเป็นอาหารมื้อเที่ยงในวันนั้น พูน จึงตัดสินใจกระโดดขึ้นลัง ก่อนที่จะคว้าเหยือกน้ำฟาดใส่มันนับครั้งไม่ถ้วน จนแน่ใจว่ามันตายสนิท ก่อนที่เขาจะลอยคอนานกว่า 133 วัน จึงได้รับการช่วยเหลือจากเรือประเทศบราซิล ซึ่งปรากฏว่าน้ำหนักเขาลดลงไปกว่า 9 กิโลกรัมก่อนพักฟื้นกว่า 2 สัปดาห์ จึงจะกลับมาเป็นปกติ


          อันดับ 2 ทีมรักบี้มหาวิทยาลัยอุรุกวัย ประสบเหตุเครื่องบินตก เทือกเขาแอนดีสที่อุรหภูมิติดลบหลายสิบองศา ก่อนโดนพายุหิมะถล่มซ้ำ จนต้องยอมกินเนื้อพวกเดียวกันเอง

          วันที่ 12 ต.ค.1972 เครื่องบินแฟร์ไชด์ FH-227D เที่ยวบินที่ 571 ของกองทัพอากาศอุรุกวัยนำผุ้โดยสาร 45 คน พร้อมนักบิน ออกจากท่าอากาศยานคาร์ราสโก มุ่งหน้าสู่ประเทศชิลี เพื่อนำทีมรักบี้ โอลด์คริสเตียนส์ของมหาวัทยาลัยสเตลล่ามาริสไปแข่งนัดกระชับมิตร ท่ามกลางสภาพอากาศที่เลวร้าย จนเครื่องบินไม่สามารรถบังคับได้อยู่ กัปตันพยายามลงจอดฉุกเฉินบนเทือกเขาแอนดีส ก่อนตัวเครื่องกระแทกพื้นอย่างรุนแรง จนร่างผู้โดยสารบางคนกระเด็นออกนอกเครื่องเสียชีวิต ก่อนสงบนิ่งบนความสูง 10,300 ฟุตซึ่งมีหิมะหนาถึง 15 เมตร ทำให้ผู้โดยสารเสียชีวิตทันที 13 คน และมีผุ้บาดเจ็บหนักอีกหลายราย

         ด้วยสภาพอากาศที่เลวร้าย ไม่มีอาหาร และน้ำ ทำให้คนบนเครื่องทยอยเสียชีวิตไปทีละรายสองราย จนRoberto Canessa เสนอไอเดีย ให้ลองกินเนื้อศพที่พวกเขาฝังไว้ แม้จะโดนต่อต้านอย่างหนักในช่วงแรก แต่เมื่อผ่านไป 2 สัปดาห์ ศพแรกก็ถูกขุดมากินด้วยการใช้มีดเฉือนบางๆ ก่อนพัฒนาไปสู่การย่างเนื้อบนกระดาษฟอย


วินาทีเข้าช่วยเหลือผู้รอดชีวิตเหตุเครื่องบินตก บนเทือกเขาแอนดีส

         หลังจากผ่านไป 4 สัปดาห์ ผู้รอดชีวิตลงความเห็นว่า จะตัดสินใจส่งตัวแทนที่แข็งแรงที่สุด ไปขอความช่วยเหลือ ซึ่งก็คือ Roberto Canessa และ Nando Parrado 2 นักรักบี้หนุ่ม พวกเขาใช้เวลากว่า 8 วันฝ่าเทือกเขาอันหนาวเหน็บ ก่อนไปพบนายพรานและชาวบ้านท้องถิ่น ก่อนนำไปสู่การช่วยเหลือผู้รอดชีวิต อีก 16 คน จากเหตุเครื่องบินตก รวมๆแล้วเป็นระยะเวลากว่า 72 วัน ก่อนที่จะได้รับการช่วยเหลือ ซึ่งเหตุการร์เครื่องบินตกที่เทือกเชาแอนดีส
ได้ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ Alive: The Miracle of the Andes

  ปัจจุบัน : Roberto Canessa และ Nando Parrado และผุ้รอดชีวิต ร่วมงานไว้อาลัย แก่เพื่อนผู้เสียชีวิตจากเหตุเครื่องบินตกบนเทือกเขาแอนดีส


อันดับ 1 Tsutomu Yamaguchi ชายผู้รอดตาย จากการถูกนิวเคลียร์ ฮิโรชิมาและนางาซากิ ถล่ม 2 ครั้ง 2 ครา


         วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ.2488 ซึโตมุ ยามางูชิ (Tsutomu Yamaguchi) ชายหนุ่มวัย 29 ปี กำลังเดินเล่นผ่านยามเช้าที่สงบในเมืองฮิโรชิมา แม้จะเป็นยามสงคราม แต่ฮิโรชิมาดูจะดูห่างไกลความขัดแย้งทั้งปวงของโลก
         ซึโตมุ เดินทางมาทำงานที่ฮิโรชิมา เป็นการชั่วคราว เนื่องจากหน้าที่การงาน ในอุตสาหกรรมหนักมิตซูบิชิ เมื่อถึงเวลา 08.15 น. ขณะเขากำลังเดินลงจากรถราง ประกายแสงบางอย่าง ได้พุ่งลงมาในฮิโรชิมา พร้อมความร้อนที่แผดเผาทุกสิ่งทุกอย่างในเมือง พร้อมชีวิตกว่า 140,000 คนที่ดับสุญไป
ซึโตมุ ยามางูชิ  ในวัยหนุ่ม

         ซึโตมุ ได้รับบาดเจ็บนักจากเหตุการณ์นี้ แก้วหูฉีกขาด นัยน์ตาบอดชั่วคราว ร่างกายซีกซ้ายช่วงบนถูกไฟเผา แต่ยังสามารถรอดชีวิตมาได้ เพราะอยู่ห่างจากจุดระเบิดลง 3 กิโลเมตร
        ผ่านมาหนึ่งวัน ซึโตมุ ตัดสินใจเดินทางกลับบ้านเกิด ที่เมืองนางาซากิทันที พร้อมอาการบาดเจ็บ เขาถึงบ้านในวันที่ 8 สิงหาคม แน่นอนว่าเขาโดนนิวเคลียร์ ลงอีกรอบ ทำลายเมืองนางาซากิพังยับ พร้อมชีวิตผู้คนอีก70,000 ชีวิต แต่ซึโตมุก็ยังสามารถรอดชีวิตมาได้อีกครั้ง
        จนเวลาล่วงเลยผ่านมาหลายปี ซึโตมุ ยามางูชิ ก็ใช้ชีวิตตามปกติทั่วไป แม้จะต้องต่อสู้กับโรคมะเร็งที่มาพร้อมกับกัมมันตภาพรังสีจากนิวเคลียร์ที่เขาโดนไป ก่อนจะเสียชีวิตลงอย่างสงบ เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2010 รวมอายุ 93 ปี จากโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร ซึโตมุ เคยกล่าวไว้ประโยคหนึ่งขณะมีชีวิตว่า "ผมไม่อาจเข้าใจว่าทำไมโลกไม่สามารถเข้าใจความหายนะของระเบิดปรมาณู ทำไมพวกเขายังพัฒนาอาวุธร้ายเหล่านี้อีกไม่หยุดยั้ง"





ที่มา : http://news.boxza.com/view/22512
ภาพประกอบจากอินเตอร์เนต

ผู้ชมหน้านี้ :

แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น