บาดแผลคนเราหายได้อย่างไร

จากการศึกษาทางการแพทย์ทำให้ทราบได้ว่า กระบวนการหายของแผล มีขั้นตอนอย่างไร ซึ่งความรู้นี้
สามารถนำไปใช้ในการค้นหาวิธีที่ดีและรวดเร็วที่สุดที่ช่วยให้ผู้ป่วยซึ่งได้รับบาดเจ็บกลับสู่ภาวะปกติ

ก่อนอื่นต้องเข้าใจเ้สียก่อนว่า กระบวนการหายของแผลเป็นขั้นตอนตามธรรมชาติ ซึ่งเมื่อเข้าใจขั้นตอนเหล่านี้เป็นอย่างดี แพทย์จะทำการสนับสนุนกระบวนการธรรมชาตินี้ให้อยู่ในสภาวะที่เหมาะสมที่สุดต่อการคืนสภาพอย่้างรวดเร็ว
การหายของแผลแบ่งตามลักษณะของบาดแผลเป็น 3 ชนิด
1. การหายของแผลแบบปฐมภูมิ (Primary intention Healing)
แผลชนิดนี้ คือ แผลประเภทที่มีการสูญเสียเนื้อเยื้อน้อย เป็นแผลที่สะอาด เช่น แผลผ่าตัด การรักษาทำได้โดยง่ายด้วยการดึงขอบแผลเข้าหากันแล้วเย็บปิด
การหายของแผลแบบปฐมภูมิ

2. การหายของแผลแบบทุติยภูมิ ( Secondary intention healing )
แผลขนาดใหญ่ที่เนื้อเยื่อถูกทำลาย มีการสูญเสียชิ้นเนื้อบางส่วน ขอบแผลจะกว้างไม่สามารถดึงเข้ามาเย็บติดกันได้แบบแผลปฐมภูมิ การรักษาบาดแผลชนิดนี้จะต้องรักษาโดยปล่อยให้บาดแผลเปิดไว้ โดยร่างกายจะทำการสร้างเยื่อบุขึ้นมาปิดบาดแผลเอง ระยะเวลาในการซ่อมแซมบาดแผลทุติยภูมิค่อนข้างใช้เวลานาน และมีโอกาสติดเชื้อสูง หากไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม ตัวอย่างบาดแผลชนิดนี้ เช่น แผลกดทับ แผลไฟไหม้ เป็นต้น
การหายของแผลแบบทุติยภูมิ

3. การหายของแผลแบบตติยภูมิ ( Tertiary intention healing or Healing by third intention)
เป็นแผลแบบเดียวกับแผลทุติยภูมิ ซึ่งมักมีการติดเชื้อที่การไหลเวียนของเลือดไม่ดี จึงต้องปล่อยให้ร่างกายมีการสร้างเนื้อเยื่อขึ้นมาทดแทน จนเมื่อมีเนื้อเยื่อพอสมควรแล้วแล้ว แพทย์จะทำการเย็บแผลหรือใช้ผิวหนังมาปะภายหลัง
Healing by third intention

ทั้งหมดนี้ คือ กระบวนการหายของแผล ซึ่งหากเข้าใจเป็นอย่างดี ก็สามารถเลือกวิธีการรักษาและข้อควรปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม สำหรับปัจจัยทางลบที่มีผลต่อการหายของแผล จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยง เช่น การสูบบุหรี่ ,โภชนาการที่ไม่ดี ,ของใช้ที่สกปรกติดเชื้อ
และยิ่งผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว หรือ มีอายุมาก ก็จำเป็นต้องเพิ่มความเอาใจใส่ ดูแลเป็นพิเศษ เพราะแผลจะหายช้ากว่าคนทั่วไป



ที่มา : http://www.thaisafetywork.com/
ภาพประกอบจากอินเตอร์เนต

ผู้ชมหน้านี้ :

แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น