ส่อง ตำรวจไทย

                ตำรวจ เป็นชื่อเรียกของเจ้าหน้าที่ของรัฐ มีหน้าที่ตรวจตรารักษาความสงบ จับกุม และปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมาย เรียกชื่อตามหน้าที่รับผิดชอบ เช่น ตำรวจกองปราบ ตำรวจดับเพลิง
ตำรวจน้ำ ตำรวจตระเวนชายแดน ตำรวจรถไฟ ตำรวจป่าไม้ ตำรวจจราจร ตำรวจนครบาล ตำรวจทางหลวง ตำรวจภูธร ตำรวจลับ ตำรวจวัง ตำรวจสภา ตำรวจสันติบาล ตำรวจหลวง
                   ตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) (Border Patrol Police)

คือ ตำรวจผู้ปฏิบัติหน้าที่ เพื่อเป็นกำลังเสริม แทนการใช้กำลังทหาร ในรักษาความสงบตามแนวตะเข็บชายแดน 

อันเนื่องจากสนธิสัญญากรุงเจนีวา ระหว่างไทยกับฝรั่งเศส กำหนดห้ามไม่ให้มีกำลังทหารในระยะ 25 กม. จากแนวแบ่งเขต
ชายแดน ไทย,ลาว และ กัมพูชา

วัตถุประสงค์หลักในการจัดตั้ง ตชด. ในช่วงแรก คือ ป้องกันกองกำลังคอมมิวนิสต์ที่เข้ามารุกรานในประเทศ โดย

ให้ ตชด. เป็นหน่วยที่มีคุณลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือ 
       1. สามารถทำการรบได้อย่างทหาร 

       2. สามารถปฏิบัติหน้าที่ป้องกันปราบปรามอาชญากรรมได้อย่างตำรวจ 
       3. สามารถดำเนินการพัฒนาและช่วยเหลือบริการประชาชนแทน กระทรวง ทบวง กรมอื่นๆ ได้เช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือน 

               
ปัจจุบัน ตชด.มีกำลังพลทั่วประเทศประมาณ 20,000 นาย ระดมกำลังจากทั่วประเทศ ผลัดเปลี่ยนกันช่วย

เสริมวางกำลังในการรักษาความสงบในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ จ.ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ประมาณ 5,000 นาย


                                             รถเกราะ คอมมานโด V-150 เขี้ยวเล็บของ ตชด.


                 
                            

                              หน่วยตำรวจพลร่ม หรือ พลร่ม นเรศวร 261

นเรศวร 261 เป็นหน่วยตำรวจ ที่สำคัญของตชด.เป็นหน่วยรบที่มีประสิทธิภาพสูงสุดหน่วยหนึ่ง รองรับได้ทุกสถานการณ์  มีขีด

ความสามารถใน การยุทธ์เคลื่อนที่ทางอากาศ การยุทธส่งทางอากาศ การรบพิเศษ และ การปฏิบัติการพิเศษ เพื่อตอบโต้ต่อ
ภัยคุกคามที่เป็นทหาร และไม่ใช่ทหาร ในการสงครามพิเศษ และการแก้ไขปัญหาการก่อความไม่สงบ,การก่อการร้าย ทุกรูปแบบ ด้วย
การปฏิบัติการปกปิด รับผิดชอบการปฏิบัติการทั่วประเทศ ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2526  เป็น หน่วยระดับกองกำกับการ (ผกก.) มีผู้กำกับ
การเป็นหัวหน้าหน่วยราชการสังกัด กองกำกับการ 3 กองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน

         

ภารกิจและการจัดหน่วย 

กองร้อยปฏิบัติการพิเศษ นเรศวร 261 มีภารกิจปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากลและการก่อการร้ายในเมืองทุกรูปแบบ
กองร้อยที่ 4 กก.สอ.ตชด. ประกอบด้วย ที่บังคับการกองร้อย,หมวดโจมตี,หมวดลาดตระเวนซุ่มยิง,หมวดเก็บกู้และทำลายวัตถุระเบิด
,หมวดการฝึก และหมวดสนันสนุน

                     
ค่ายนเรศวร ของตำรวจพลร่ม นอกจากเป็นที่ตั้งหน่วย นเรศวร 261 แล้ว  ยังมี หน่วยตำรวจพลร่มรบพิเศษ สังกัดกองบังคับการ

สนับสนุนทางอากาศ ตำรวจตระเวนชายแดน ด้วย

       

                                                     อรินทราช 26

"อรินทราช 26" เป็นหน่วยตำรวจที่มีความเชี่ยวชาญการใช้อาวุธและยุทธวิธีพิเศษ (Special Weapons And Tactics : S.W.A.T.) 

มีขีดความสามารถในการปฏิบัติการพิเศษต่อภัยคุกคามที่เป็นอาชญากรรม และการก่อการร้าย ด้วยการแย่งชิงตัวประกัน การจับกุม ฯลฯ 
ตามแนว "การบริหารวิกฤตการณ์" (Crisis Management) โดยมีพื้นที่รับผิดชอบในเมืองหลวง และปริมณฑล เป็นหน่วยระดับกองร้อย 
มีอุปกรณ์ครบมือเช่น ปืนยิงแห, ปืนไฟฟ้า, ปืนพก, ปืนลูกซอง, ปืนกลเบา, ปืนไรเฟิล, ระเบิดมือ, อุปกรณ์ต่อต้านการจลาจล ฯลฯ

                     
                                   

ปัจจุบัน อรินราช 26 อยู่ในสังกัด กองกำกับการต่อต้านการก่อการร้าย กองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ (191) 
และขึ้นตรงกับ กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น)

                                    
                   

                             คอมมานโด กองปราบปราม “หน่วยสยบริปูสะท้าน

กองปราบปราม สังกัด กองบัญชาการตรวจสอบสวนกลาง มีการก่อตั้งครั้งแรก พ.ศ.2491 ที่อยู่ ซอยโชคชัย 4 ลาดพร้าว กทม. 

ผ.5 กก.ปพ.บก.ป. เป็นหน่วยกำลัง จู่โจมระงับเหตุฉุกเฉิน การจับกุมคนร้ายที่มีสมัครพรรคพวกมาก ประกอบกับการทำงาน ที่มีลักษณะ เป็น

ทีมปฏิบัติการ ฉะนั้นเพื่อให้เกิดความน่าเกรงขามต่อคนร้าย และเพิ่มศักยภาพของหน่วยงานจึงมีการเรียกชื่อว่า คอมมานโดทำงานร่วมกับ 
ศูนย์วิทยุ และ รถสายตรวจเคลื่อนที่เร็ว อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนของกำลังนั้นประกอบด้วยตำรวจที่มีความสามารถในการต่อสู้ป้องกันตัวสูง 
มีความสามารถในการปราบปรามทั่วประเทศ โดย ผ.5 กก.ปพ.บก.ป. เป็นกองกำลังหรือหน่วยจู่โจมเพื่อระงับเหตุฉุกเฉิน หรือ ปราบปรามการ
จลาจล การก่อวินาศกรรม การจับกุมคนร้ายที่มีอาวุธร้ายแรง หรือมีพรรคพวกมาก ตลอดจนความไม่สงบอื่นๆ โดยมีเจ้าหน้าที่เตรียมพร้อมอยู่เสมอ 
เมื่อได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาหรือการร้องขอจากตำรวจท้องที่ สามารถปฏิบัติการได้ทันที

                                    
กองกำลังคอมมานโด มีหน้าที่เตรียมพร้อมสำหรับการปฏิบัติการได้โดยทันที หากได้รับคำสั่งจากผู้ บังคับบัญชา ในส่วนของการปฏิบัติงาน

ของ ผ.5กก.2ป. หรือ คอมมานโด นั้นได้มีการแบ่งส่วนการทำงานดังนี้

                  1. ฝ่ายอำนวยการ 

                  2. ส่วนปฏิบัติการ ซึ่งแบ่งได้เป็น 4 หมวด 
                     ประกอบด้วย หมวดปฏิบัติการ1 2 3 และ หมวดปฏิบัติการพิเศษ

                       

                     ชุดปฏิบัติการพิเศษ “สยบไพรี” หรือ NSB Commando

                                   กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด (บช.ปส.)

"ชุดปฎิบัติการสยบไพรี" ของกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด มีหน้าที่กวาดล้างคดีอาชญากรรมและยาเสพติด โดยมี

ความสามารถในการต่อสู้และปราบปรามผู้ก่อการร้าย ผ่านการฝึกอบรมจากหลายหน่วยงาน อาทิ ศูนย์สงครามพิเศษ ทบ., นาวิกโยธิน ทร., 
กรมปฏิบัติการพิเศษ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน ทอ. และ หน่วยรบพิเศษจากต่างประเทศ   DEA ของหน่วยงานยาเสพติดประเทศ
สหรัฐอเมริกา
                                       

                                       

                           หน่วยปฏิบัติการพิเศษ นปพ. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

    ประจำตำรวจภูธรภาค 1-9, ประจำกองบังคับการ, ประจำตำรวจภูธรจังหวัด, ประจำสถานีตำรวจทุกหน่วย

ตัวย่อ "นปพ.ย่อมาจาก"หน่วยปฏิบัติการพิเศษ" เป็นหน่วยงานตำรวจ มีภารกิจหลักในช่วงแรก คือ การปราบปรามคอมมิวนิสต์

เมื่อปี พศ.2510 ปัจจุบันเป็นหน่วยงานสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ แต่ละจังหวัด และภาค ที่สนับสนุนกำลังทางด้านยุทธวิธี  มีการฝึก
ฝนที่เข้มข้นมากว่าตำรวจปกติ โดยได้รับการฝึกยุทธวิธีตำรวจพิเศษในการช่่วยเหลือตัวประกันจากหน่วยปฏิบัติการพิเศษ นเรศวร 261 
และเสริมเทคนิคจากหน่วยปฏิบัติการพิเศษ อรินทราช 26 อีกส่วนหนึ่ง หน่วยนี้จึงมีความพร้อมเกี่ยวกับยุทธวิธีตำรวจในระดับภาค และ
จังหวัด
                                         
                                                                 นปพ.ภ.จว.สงขลา

ตำรวจภูธรภาค จะมี หน่วยคอมมานโด ของตัวเองอีกซึ่งคนละหน่วยกับ นปพ.ของ ภูธรจังหวัด  นปพ.หรือ หน่วยปฏิบัติการพิเศษ 

จะใส่ หมวกแบเรต์เขียว ชุดสนามสีเขียว แต่ได้รับการฝึกยังไม่เข้มข้นเท่า คอมมานโด หรือ หน่วยปฏิบัิติการพิเศษของภาค (แต่ละภาค 

มีหลายจังหวัด) ซึ่งทั้งสองหน่วยนี้ทำหน้าที่คล้ายๆเป็น หน่วยสวาท(SWAT) แต่ขีดความสามารถของ นปพ.จังหวัด นั้นด้อยกว่านปพ.ภาค 
เพราะว่า นปพ.บางจังหวัด อาจไม่มีการฝึก CQB Close Quarter Battle “หลักสูตรเทคนิคและยุทธวิธีการปฏิบัติการตอบโต้แบบฉับพลันในระยะ
ประชิด (จู่โจม)" หรือการชิงตัวประกัน  ขึ้นอยู่กับ งบประมาณ และความจำเป็นด้วย ตัวอย่างเช่นจังหวัดที่มักมีอาชญากรรมร้ายแรง หรือ จังหวัด
ใหญ่ๆ จำเป็นต้องฝึก นปพ.ให้มีขีดความสามารถสูงๆเพราะต้องทำหน้าที่หน่วยสวาท ไว้รับมือกับพวก อาชญากรที่มีอาวุธปืนร้ายแรง




ปราบไพรีอริศัตรูพ่าย 
หน่วยปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธร ภาค 1 
รับผิดชอบในพื้นที่ของ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ พระนครศรีอยุธยา
สระบุรี อ่างทอง ลพบุรี สิงห์บุรี และชัยนาท​
             
               อากาศยานตรวจการไร้นักบิน แบบขึ้นลงทางดิ่ง หรือ UAV รุ่น นารายณ์
            ผลงานวิจัยของบริษัทกษมาเฮลิคอปเตอร์ จำกัด และกองทัพเรือ บรรจุเข้าประจำการใน

                                      ชุด ปฏิบัติการพิเศษปราบไพรีอริศัตรูพ่าย
______________________________________________________________________
ที่มา : ww.prachatalk.net/
ภาพประกอบจากอินเตอร์เนต

แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น